คู่รักแต่ละคู่ จะมีวิธีการสื่อสารที่แตกต่างกัน ขึ้นกับปัจจัยหลายหลาก เช่น การอบรมสั่งสอน ทั้งทางตรงและทางอ้อมของพ่อแม่ หรือผู้ดูแล ขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรม วิถีชีวิตดั้งเดิม อุปนิสัย ความเชื่อ ฯลฯ
ตัวอย่างวิธีการสื่อสารระหว่างสามี
ภรรยา ที่ต่างกัน
คู่ที่ 1
ภรรยา :
ทำไมคุณถึงไม่โทรบอกฉันว่าจะกลับบ้านดึก
ปล่อยให้ฉันอดหลับอดนอนรอ
สามี : คุณไม่จำเป็นต้องทำอย่างนั้นก็ได้นี่ ผมไม่ใช่เด็กแล้ว
คู่ที่ 2
ภรรยา : มีอะไรเกิดขึ้นหรือที่รัก ฉันห่วงคุณแทบแย่
สามี
: ขอโทษทีจ้ะที่ไม่ได้โทรบอก คุยกับเพื่อนเก่าที่ร้านอาหารจนเพลิน
ไม่ได้เจอกันมาสิบกว่าปี
งานวิจัยหลายชิ้นเกี่ยวกับชีวิตสมรสที่อยู่กันนานอย่างมีความสุข
พบว่า ทั้งสองฝ่ายมักมีคุณสมบัติที่ดีร่วมกันอยู่ 2 ประการ คือ
1. การมีทัศนคติที่ดีต่อกัน
2. การมีความคาดหวังที่สอดคล้องกับความเป็นจริง
ตัวอย่างบทสนทนาข้างต้น
สะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างในคุณสมบัติทั้ง 2 ประการของคู่รักได้อย่างชัดเจน
ผลเสียของการคำนึงถึงเรื่อง
“การเข้ากันได้” มากเกินไป
“เธอควรปรับตัวให้เข้ากับครอบครัวของฉันด้วย
และทำทุกอย่างตามที่ฉันบอก ถ้าทำได้ เธอก็จะได้ทุกอย่างที่ต้องการ”
คนโดยทั่วไปคิดว่า
การที่คนสองคนมีคุณลักษณะหลายอย่างที่เข้ากันได้ดี
จะทำให้ไปด้วยกันได้ดีและมีชีวิตคู่ที่มีความสุข
แต่ความคิดเช่นนี้อาจสร้างปัญหาขึ้นได้ เพราะการที่คุณพยายามมองหาความเข้ากันได้อยู่ตลอดเวลาก็อาจทำให้คุณเผลอใช้ตัวเองเป็นตัวตั้ง
แล้วคาดหวังที่จะให้คู่รักของคุณตอบสนองความต้องการของคุณเองโดยไม่รู้ตัว
เพราะมัวแต่คิดว่า
เขาหรือเธอต้องเป็นฝ่ายปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของคุณจึงจะเรียกว่าเป็น “ความเข้ากันได้”
งานวิจัยชิ้นหนึ่งของ ศาสตราจารย์ Ted Huston นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัย
Texas ผู้ดำเนินโครงการ
“The PAIR Project” ซึ่งเป็นโครงการศึกษาวิจัยระยะยาวเกี่ยวกับคู่สมรส
พบว่า เมื่อเปรียบเทียบคู่สมรสที่ไม่มีความแตกต่างกันในทาง กายภาพ
คือ มีความเข้ากันได้ดีทางกายภาพ เช่น ฐานะทางเศรษฐกิจและระดับการศึกษา
อยู่ในเกณฑ์ใกล้เคียงกัน คู่สมรสส่วนหนึ่งมีความสุขในขณะที่อีกส่วนหนึ่งไม่มีความสุข แสดงว่า
น่าจะมีปัจจัยอื่นๆอีกที่มีอิทธิพลต่อการทำให้คู่สมรสมีความสุขได้มากกว่าการมีเพียงคุณสมบัติที่เข้ากันได้ทาง
กายภาพ เท่านั้น เขาได้ให้ข้อคิดที่น่าสนใจว่า
คู่สมรสจะมีความสุขได้มากยิ่งขึ้นหากทั้งสองคนมีความเคารพในความเป็นปัจเจกบุคคลของกันและกัน
คือ ยอมรับว่าเขาหรือเธอก็เป็นคนอย่างนั้นเอง ขณะเดียวกันก็ต้องมีความพยายามที่จะเรียนรู้ซึ่งกันและกันให้มากขึ้นในเรื่องสำคัญๆด้วย
หากคุณคิดถึงเรื่องของ “ความเข้ากันได้” มากจนเกินไป คุณอาจจะ
1. พลาดโอกาสเรียนรู้เพื่อนคู่ใจคนใหม่ (กรณีที่คุณยังไม่ตัดสินใจ) ที่ดูเหมือนจะเข้ากันไม่ได้ ( เพราะคุณรีบตัดสินเขาหรือเธอเสียก่อน) แต่หารู้ไม่ว่าคนๆนั้นก็คือ คนที่เหมาะสมที่สุดสำหรับคุณ
Tom : What is your favorite dish, honey?
(อาหารจานโปรดของเธอคืออะไรจ๊ะที่รัก)
เธอ : ส้มตำปลาร้าค่ะ แล้วพี่ล่ะ
Tom : Cheese Burger Ha Ha
….my sweet heart!
(ชีสเบอร์เกอร์ จ้ะ หวานใจของพี่
เธอ : วันนี้
น้องขอหม่ำส้มตำปลาแด้กก่อนนะจ๊ะ
Tom : ไม่เป็นไรไอเลิฟยู มายดาหริง
แค่แปรงฟันให้สะอาดหมดจดก่อน……..ก็สิ้นเรื่อง
2. เผลอใจไปคบกับเพื่อนคู่ใจที่ดูเหมือนจะเข้ากันได้ดี แต่……..
เขา : ที่รัก เราก็ดูใจกันมานานแล้ว
ดูกันมาหมดทุกอย่างแล้ว แต่งงานกับพี่เถอะนะ
เธอ : ค่ะ เราจะอยู่ด้วยกันตลอดไปนะคะ
เขา : มีสิ่งหนึ่งที่พี่อยากบอกน้องมานาน แต่ก็ไม่รู้จะพูดยังไง
เธอ : ก็พูดภาษาไทยนี่แหละค่ะ
เขา : คือ…. อ่า….เอ่อ…..พี่มีเมียแล้วจ้า ลูก 1 กำลังน่ารักน่าชัง
เธอ : ไปตายซะ
เราจะพบว่า
คู่รักที่มีความแตกต่างกันอย่างมากในหลายๆด้าน แต่อยู่กันอย่างมีความสุข ในขณะที่คู่รักที่ดูเหมาะสมกันราวกับกิ่งทองใบหยกนั้น
ในที่สุดก็หย่าร้างกันไป มีปรากฏเป็นข่าวอยู่เสมอๆ
ตัวอย่างสามีภรรยาที่มีความแตกต่างกันมากๆ
แต่อยู่ด้วยกันได้อย่างมีความสุข เช่น
- ภรรยาเป็นนักธุรกิจร้อยล้าน ส่วนสามีรับราชการ (ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต)
- สามีเป็นนักธุรกิจ ส่วนภรรยาเป็นแม่บ้านที่การศึกษาไม่สูงและไม่ชอบออกสังคม แต่มีความรับผิดชอบสูง สามารถดูแลงานบ้านและเลี้ยงดูอบรมลูกๆได้เป็นอย่างดี
ตัวอย่างสามีภรรยาที่เหมือนกันมากๆ
แต่ไปไม่รอด เช่น
- สามีภรรยาเป็นนักธุรกิจทั้งคู่ รวยทั้งคู่
- นักวิชาการระดับปริญญาเอกทั้งคู่
- คู่หมอ คู่ดาราดัง ฯลฯ
สรุป
ความเข้ากันได้ มี 2 ส่วน
คือ
1. มีอยู่แล้ว คือ
คุณสมบัติที่คู่รักต่างพอใจซึ่งกันและกันเมื่อแรกรัก
2. สร้างขึ้นใหม่ คือ
คุณสมบัติที่คู่รักช่วยกันสร้างขึ้นหลังแต่งงาน เพื่อให้ชีวิตรักยืนยาว
อย่างมีความสุข
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น