คนเราใช้ ความสุข เป็นตัวกำหนด
การกระทำ มีการทดลองเพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่า ในสถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจอย่างรวดเร็ว
คนเรามักเลือกสิ่งที่คิดว่าจะทำให้มีความสุขที่สุดโดยไม่ใส่ใจถึงผลกระทบเชิงลบที่อาจเกิดขึ้น
แต่คนเราก็ไม่ได้ตกเป็นทาสของความพึงพอใจแบบที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเสมอไป
อีกทั้งยังสามารถรอคอยสิ่งที่จะทำให้มีความสุขได้มากกว่าและยั่งยืนกว่า " หากมีการเรียนรู้อย่างถูกต้อง "
โชคไม่ดีที่ความสุขโดยตัวของมันเองนั้นเกิดขึ้นได้ไม่นานก็หายไป
คนเราจึงต้องการแสวงหาความสุขกันอยู่เรื่อยไปจนเกิดเป็นวงจร สุข-พอใจ-หมดสุข-ทุกข์ใจ-แสวงหา-สุข….เช่นนี้เรื่อยไปไม่จบสิ้น
มนุษย์จึงไม่สามารถมีความสุขอย่างยั่งยืน ความสุข
ความพึงพอใจมีจุดเริ่มต้นจากความต้องการที่จะได้รับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตัวอย่างเช่น
เราจะรู้สึกพึงพอใจกับการดื่มน้ำเย็นๆสักแก้วก็ต่อเมื่อเรารู้สึกกระหายน้ำ
แต่ทันทีที่ความกระหายหมดไป เราก็จะไม่รู้สึกอะไรกับน้ำเย็นที่ดื่มอีก หากเราไม่ตกอยู่ในอันตราย เราก็จะไม่คิดหาทางป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น
รวมทั้งไม่ได้มีความรู้สึกอะไรกับสิ่งที่เรามีอยู่ จึงอาจกล่าวได้ว่า ความพึงพอใจทางกายภาพ
ซึ่งได้รับจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น สัมผัส นั้น เป็นเพียงความสุขหรือความสนุกสนานที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว
เมื่อใดที่มันลดลงเราจึงรู้สึกไม่สุข ไม่สนุก
นานเข้าก็กลายเป็นความทุกข์ เหตุนี้ มนุษย์ส่วนใหญ่จึงดำเนินชีวิตอยู่ด้วยการเสพความสุขและความสนุกสนาน โดยอาศัยตัวกระตุ้นที่ต่างกัน
เงิน รางวัล ความสำเร็จ ตำแหน่ง ชื่อเสียง
การยอมรับ แม้แต่ความรัก จะกลายเป็นสิ่งเสพติดได้ทันทีหากเรารู้ไม่เท่าทันและเสพมันอย่างขาดสติ
คุณได้เรียนรู้จากหัวข้อ สารเคมีและฮอร์โมนแห่งรัก มาแล้วว่า ความสุขที่เกิดขึ้นจากตัวกระตุ้นเหล่านี้เป็นปฏิกิริยาทางเคมีในสมองที่เกิดขึ้นเพียงชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น
เมื่อพวกมันหมดฤทธิ์เราก็ต้องแสวงหาตัวกระตุ้นเดิมๆ ด้วยพฤติกรรมเดิมๆอีก
- หลายชีวิตที่จบลงคาเข็มฉีดยาเสพติด
- เด็กหนุ่มที่ฟุบตายหน้าจอคอมพิวเตอร์เพราะเล่นเกมส์ข้ามวันข้ามคืน
- ผีการพนันที่นำหายนะมาสู่ตนเองและครอบครัว
- คนเสพติด sex ที่รับเชื้อ HIV เพิ่มอยู่ตลอด
- ผู้ปกครองเสพติดอำนาจในหลายประเทศที่กลายเป็นฆาตกรสั่งฆ่าเพื่อนร่วมชาติได้อย่างเลือดเย็น
- สุดท้ายคือ คนเสพติดรัก ที่ต้องสังเวยชีวิตตัวเอง อาจรวมถึงชีวิตคนรักทั้งเก่าและใหม่
" ชีวิตที่ไม่เสพติดอะไรเลย "