ความหมายของสามเหลี่ยมแห่งรัก
Dr. Sternberg ได้ให้ความหมายของสามเหลี่ยมแห่งรักไว้อย่างลึกซึ้ง
ดังนี้
1. “ ขนาด ” ของสามเหลี่ยม
แสดงถึง “ ปริมาณ ” ของความรัก คือ
สามเหลี่ยมขนาดเล็ก แสดงถึงความรักน้อย สามเหลี่ยมขนาดใหญ่แสดงถึงความรักมาก
2. “ รูปร่าง ” ของสามเหลี่ยมแสดงถึง “ ความคิด
อารมณ์ความรู้สึกและพฤติกรรม ” ของคนรักแต่ละคนที่มีต่อคนรักของตน
รูปสามเหลี่ยมต่อไปนี้แสดงถึงสัดส่วนขององค์ประกอบหลักทั้งสาม
คือ ความเสน่หา ความผูกพัน และ คำมั่นสัญญา รูปสามเหลี่ยมด้านเท่า (แสดงด้วยสีม่วง) หมายถึง ความรักที่มีสัดส่วนขององค์ประกอบทั้งสามในสัดส่วนเท่าๆกัน
ถือว่าเป็นความรักต้นแบบ ส่วนสามเหลี่ยมรูปร่างอื่นๆ(แสดงด้วยสีเขียว)
หมายถึง ความรักที่มีองค์ประกอบหลักทั้งสามในสัดส่วนที่ต่างกัน
ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา โดยมีปัจจัยกระตุ้นต่างกันไปในคู่รักแต่ละราย
สัดส่วนขององค์ประกอบที่แตกต่างกันนี้
ทำให้เกิดรูปแบบของความรักได้อีกหลายแบบ คือ
1. รักแบบหลงใหลเสน่หา (Passionate
love) ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหรือทั้งสองฝ่ายมีความต้องการเรื่องตัณหาราคะ
หรือความสุขทางเพศมากกว่าเรื่องอื่น เป็นความรักที่เกิดจากแรงขับตามธรรมชาติ
เป็นความรู้สึกเช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในสัตว์ ต่างกันตรงที่ว่า
สัตว์ไม่มีความรู้สึกผูกพัน
ยกเว้นในบางสายพันธุ์ที่นักวิชาการได้ศึกษาวิจัยจนสามารถยืนยันแล้วว่า
พวกมันก็มีความรักความผูกพันและอยู่กันแบบผัวเดียวเมียเดียวตลอดอายุขัย เช่น นกเงือก
นกกระเรียน นกเพนกวิน สัตว์ตระกูลหนูชื่อ Prairie vole ฯลฯ
2. รักสมดุล
มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า มีสัดส่วนทั้งสามองค์ประกอบพอๆกัน
3. เสน่หาเจือจาง
คู่รักมีเพศสัมพันธ์ลดลงอันเนื่องมาจากภาระหน้าที่เพิ่มมากขึ้น
อาจเป็นเพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่าย
หากเกิดขึ้นฝ่ายเดียวก็อาจทำให้อีกฝ่ายหนึ่งเกิดปัญหาทางอารมณ์
ถ้าระดับคุณธรรมศีลธรรมไม่เข้มแข็ง ก็อาจนำไปสู่พฤติกรรมเสื่อมเสียได้ เช่น
การนอกใจคู่สมรส ในปัจจุบันการมีกิ๊กอาจถือได้ว่าเป็นรูปแบหนึ่งของการนอกใจ
ไม่ต่างกับการเป็นชู้ทางใจ ซึ่งเมื่อปล่อยให้เหตุการณ์ของการคบหาดำเนินต่อไป
ก็อาจจบลงด้วยการมีเพศสัมพันธ์ในที่สุด
สามเหลี่ยมแห่งรักนี้ Dr. Sternberg อธิบายว่า นอกจากจะหมายถึง ความรู้สึกที่เรามีต่อคนรักแล้ว ยังหมายถึงความรักที่คนรักมีต่อเราด้วย ที่กล่าวมาข้างต้นนี้จึงถือเป็นภาพรวมของความรักระหว่างคนรักทั้งสองคนที่จะต้องได้สัดส่วนกัน เมื่อนำมาวางซ้อนกันไม่ควรจะมีความขาดหรือเกินกันไปในมุมหนึ่งมุมใดหรือหลายมุมในปริมาณที่มากเกินไป ดังนั้น การที่ความรักจะพัฒนาไปจนถึงขั้นสูงสุดได้นั้น จึงจำเป็นที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องมีความสอดคล้องกันในรูปแบบของความรักด้วย หากยึดถือเอารูปสามเหลี่ยมแห่งรักของ Sternberg นี้เป็นหลัก ก็จะทำให้สามารถสำรวจความรักของตนเองและของคนรักได้อย่างเป็นรูปธรรมได้ง่ายขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น